วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2550

การสร้างสื่อการเรียนการสอน

  • 1. สื่อการสอน

........สื่อการสอน หมายถึง วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ ซึ่งถูกนำมาใช้ในการการเรียนการสอน เพื่อเป็นตัวกลางในการนำส่งหรือถ่ายทอดความรู้ ทักษะ และเจตคติ จากผู้สอนหรือแหล่งความรู้ไปยังผู้เรียน ช่วยให้การเรียนการสอนดำเนินไปอย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพ และทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนที่ตั้งไว้ที่มา : http://edtech.edu.ku.ac.th/edtech/wbi/index.php

"ความสำคัญของสื่อการสอน" ดังนี้
1. สื่อการสอน ช่วยสร้างรากฐานที่เป็นรูปธรรมขึ้นในความคิดของผู้เรียน การฟังเพียงอย่างเดียวนั้น ผู้เรียนจะต้องใช้จินตนาการเข้าช่วยด้วย เพื่อให้สิ่งที่เป็นนามธรรมเกิดเป็นรูปธรรมขึ้นในความคิด แต่สำหรับสิ่งที่ยุ่งยากซับซ้อน ผู้เรียนย่อมไม่มีความสามารถจะทำได้ การใช้อุปกรณ์เข้าช่วยจะทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจและสร้างรูปธรรมขึ้นในใจได้
2. สื่อการสอน ช่วยเร้าความสนใจของผู้เรียน เพราะผู้เรียนสามารถใช้ประสาทสัมผัสได้ด้วยตา หู และการเคลื่อนไหวจับต้องได้แทนการฟังหรือดูเพียงอย่างเดียว
3. เป็นรากฐานในการพัฒนาการเรียนรู้และช่วยความทรงจำอย่างถาวร ผู้เรียนจะสามารถนำประสบการณ์เดิมไปสัมพันธ์กับประสบการณ์ใหม่ ๆ ได้ เมื่อมีพื้นฐานประสบการณ์เดิมที่ดีอยู่แล้ว
4. ช่วยให้ผู้เรียนได้มีพัฒนาการทางความคิด ซึ่งต่อเนื่องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทำให้เห็นความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ เช่น เวลา สถานที่ วัฏจักรของสิ่งมีชีวิต
5. ช่วยเพิ่มทักษะในการอ่านและเสริมสร้างความเข้าใจในความหมายของคำใหม่ ๆ ให้มากขึ้น ผู้เรียนที่อ่านหนังสือช้าก็จะสามารถอ่านได้ทันพวกที่อ่านเร็วได้ เพราะได้ยินเสียงและได้เห็นภาพประกอบกัน
เปรื่อง กุมุท ให้ความสำคัญของสื่อการสอน ดังนี้
1. ช่วยให้คุณภาพการเรียนรู้ดีขึ้น เพราะมีความจริงจังและมีความหมายชัดเจนต่อผู้เรียน
2. ช่วยให้นักเรียนรู้ได้ในปริมาณมากขึ้นในเวลาที่กำหนดไว้จำนวนหนึ่ง
3. ช่วยให้ผู้เรียนสนใจและมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในกระบวนการเรียนการสอน
4. ช่วยให้ผู้เรียนจำ ประทับความรู้สึก และทำอะไรเป็นเร็วขึ้นและดีขึ้น
5. ช่วยส่งเสริมการคิดและการแก้ปัญหาในขบวนการเรียนรู้ของนักเรียน
6. ช่วยให้สามารถเรียนรู้ในสิ่งที่เรียนได้ลำบากโดยการช่วยแก้ปัญหา หรือข้อจำกัดต่าง ๆ ได้ดังนี้
.....· ทำสิ่งที่ซับซ้อนให้ง่ายขึ้น
.....· ทำนามธรรมให้มีรูปธรรมขึ้น
.....· ทำสิ่งที่เคลื่อนไหวเร็วให้ดูช้าลง
.....· ทำสิ่งที่ใหญ่มากให้ย่อยขนาดลง
.....· ทำสิ่งที่เล็กมากให้ขยายขนาดขึ้น
.....· นำอดีตมาศึกษาได้
.....· นำสิ่งที่อยู่ไกลหรือลี้ลับมาศึกษาได้
7. ช่วยให้นักเรียนเรียนสำเร็จง่ายขึ้นและสอบได้มากขึ้น

"ประเภทของสื่อการสอน"
โรเบิร์ต อี. ดี. ดีฟเฟอร์ แบ่งประเภทของสื่อการสอน ดังนี้
1. วัสดุที่ไม่ต้องฉาย ได้แก่ รูปภาพ แผนภูมิ กราฟ ของจริง ของตัวอย่าง หุ่นจำลอง แผนที่ กระดาษสาธิตลูกโลก กระดานชอล์ค กระดานนิเทศ กระดานแม่เหล็ก การแสดงบทบาท นิทรรศการ การสาธิต และการทดลองเป็นต้น
2. วัสดุฉายและเครื่องฉาย ได้แก่ สไลด์ ฟิล์มสตริป ภาพโปร่งใส ภาพทึบ ภาพยนตร์ และเครื่องฉายต่าง ๆ เช่น เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องฉายสไลด์ และฟิล์มสตริป เครื่องฉายกระจกภาพ เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ เครื่องฉายภาพทึบแสง เครื่องฉายภาพจุลทัศน์ เป็นต้น
3. โสตวัสดุและเครื่องมือ ได้แก่ แผ่นเสียง เครื่องเล่นจานเสียง เทป เครื่องบันทึกเสียง เครื่องขยายเสียง และวิทยุ เป็นต้นศาสตราจารย์สำเภา วรางกูร ได้แบ่งประเภทและชนิดของสื่อการสอน ดังนี้
..........ก. ประเภทวัสดุโสตทัศน์ (Audio-Visual Materials
1. ประเภทภาพประกอบการสอน(Picture Instructional Materials)
..ภาพที่ไม่ต้องฉาย (Unprojected Pictures)
..ภาพเขียน (Drawing)
..ภาพแขวนผนัง (Wall Pictures)
..ภาพตัด (Cut-out Pictures)
..สมุดภาพ (Pictorial Books, Scrapt Books)
..ภาพถ่าย (Photographs)
..ภาพที่ต้องฉาย (Project Pictures)
..สไลด์ (Slides)
..ฟิล์มสตริป (Filmstrips)
..ภาพทึบ (Opaque Projected Pictures)
..ภาพโปร่งแสง (Transparencies)
..ภาพยนตร์ 16 มม., 8 มม., (Motion Pictures)
..ภาพยนตร์ (Video Tape)
2. ประเภทวัสดุอุปกรณ์ลายเส้น (Graphic Instructional Materials)
..แผนภูมิ (Charts)
..กราฟ (Graphs)
..แผนภาพ (Diagrams)
..โปสเตอร์ (Posters)
..การ์ตูน (Cartoons, Comic strips)
..รูปสเก็ช (Sketches)
..แผนที่ (Maps)
..ลูกโลก (Globe)
3. ประเภทกระดานและแผ่นป้ายแสดง (Instructional Boards and Displays)
..กระดานดำหรือกระดานชอล์ก (Blackboard,Chalk Board)
..กระดานผ้าสำลี (Flannel Boards)
..กระดานนิเทศ (Bulletin Boards)
..กระดานแม่เหล็ก (Magnetic Boards)
..กระดานไฟฟ้า (Electric Boards)
4. ประเภทวัสดุสามมิติ (Three-Dimensional Materials) มี
..หุ่นจำลอง (Models)
..ของตัวอย่าง (Specimens)
..ของจริง (Objects)
..ของล้อแบบ (Mock-Ups)
..นิทรรศการ (Exhibits)
..ไดออรามา (Diorama)
..กระบะทราย (Sand Tables)
5. ประเภทโสตวัสดุ (Auditory Instructional Materials)
..แผ่นเสียง (Disc Recorded Materials)
..เทปบันทึกเสียง (Tape Recorded Materials)
..รายการวิทยุ (Radio Program)
6. ประเภทกิจกรรมและการละเล่น (Instructional Activities and Plays)
..การทัศนาจรศึกษา (Field Trip)
..การสาธิต (Demonstrations)
..การทดลอง (Experiments)
..การแสดงแบบละคร (Drama)
..การแสดงบทบาท (Role Playing)
..การแสดงหุ่น (Pupetry)
...........ข. ประเภทเครื่องมือโสตทัศนูปกรณ์ (Audio-Visual Equipments)
..เครื่องฉายภาพยนตร์ 16 มม. , 8 มม.
..เครื่องฉายสไลด์และฟิล์มสตริป (Slide and Filmstrip Projector)
..เครื่องฉายภาพทึบแสง (Opaque Projectors)
..เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ (Overhead Projector)
..เครื่องฉายกระจกภาพ (3 1/4 "x 4" หรือ Lantern Slide Projector)
..เครื่องฉายภาพจุลทัศน์ (Micro-Projector)
..เครื่องเล่นจานเสียง (Record Plays)
..เครื่องเทปบันทึกภาพ (Video Recorder)
..เครื่องรับโทรทัศน์ (Television Receiver)
..จอฉายภาพ (Screen)
..เครื่องรับวิทยุ(Radio Receive)
..เครื่องขยายเสียง(Amplifier)
..อุปกรณ์เทคโนโลยีแบบใหม่ต่างๆ (Modern Instructional Technology Devices) เช่น
..โทรทัศนศึกษา
..ห้องปฏิบัติการภาษา โปรแกรมเรียน (Programmed Learning) และอื่นๆ

"การใช้สื่อการสอน"
1. ใช้สื่อการสอนในขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ทั้งนี้เพื่อเร้าผู้เรียนให้เกิดความสนใจ และเปลี่ยนพฤติกรรมในเบื้องต้น โดยปรับตนเองให้พร้อมที่จะเรียนรู้บทเรียนใหม่ ซึ่งอาจกระทำได้โดยการรื้อฟื้นความรู้เดิม (assimilation) หรือขยายความรู้เดิม (accommodation) เพื่อนำมาใช้ให้ประสานกันกับความรู้ใหม่ ซึ่งจะเรียนในขั้นต่อไป
2. ใช้สื่อการสอนในขั้นประกอบการสอนหรือขั้นดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อช่วยให้ความกระจ่างในเนื้อหาที่เรียนหรือทำให้ผู้เรียน เรียนรู้ได้ง่ายขึ้นและเข้าใจข้อเท็จจริงในเนื้อหาอย่างแท้จริงในรูปของการเกิด Concept เข้าใจหลักการสำคัญ และมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในแนวทางที่ดีขึ้นตามจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ได้กำหนดไว้
3. ใช้สื่อการสอนเพื่อขยายขอบเขตความรู้ของผู้เรียนให้ก้าวหน้าและเจริญงอกงามทั้งในด้านความกว้างและความลึกของภูมิปัญญา ซึ่งเป็นผลของการเรียนอย่างแท้จริง
4. ใช้สื่อการสอนเพื่อย่อสรุปเนื้อหาสำคัญของบทเรียนเกิดเป็น Concept ในเนื้อหาแต่ละเรื่องใช้สื่อการสอนเพื่อส่งเสริมผู้เรียนให้มีการฝึกและพัฒนาตนเองให้รู้จักขั้นตอนและมีความคิดสร้างสรรค์ (Control and Creativity)

"การติดตามและประเมินผลการใช้สื่อการสอน "
โนเอล และ ริโอนาร์ด ได้ให้หลักเกณฑ์ในการติดตามและประเมินผลการใช้สื่อดังนี้
>>>1. ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันจัดกิจกรรมเพื่อติดตามผล ดังนี้
1. ร่วมกันอภิปรายเนื้อหาที่สำคัญ ในระหว่างการใช้โสตทัศนูปกรณ์
2. ร่วมกันทำความเข้าใจเนื้อหาที่ยังไม่เข้าใจ
3. ครูอธิบายความคิดรวบยอดให้เด็กเข้าใจได้ชัดเจน
4. ร่วมกันจัดกิจกรรมต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์การเรียนรู้
5. ร่วมกันวางแผนในการนำผลการเรียนรู้ไปใช้ในการแก้ปัญหาอื่น ๆ หรือการเรียนในเรื่องอื่น ๆ ต่อไป
>>>2. ผู้สอนสำรวจดูว่าการใช้สื่อการสอนได้บรรลุตามจุดมุ่งหมายหรือไม่ อาจทำได้ดังนี้
1. ผู้สอนวิจารณ์ผลการเรียนโดยใช้สื่อการสอน
2. ผู้สอนอาจใช้แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ของผู้เรียน แต่การทดสอบนั้นต้องเป็นไปตามจุดมุ่งหมาย เช่น ถ้าต้องการทราบความเข้าใจก็ต้องออกแบบทดสอบวัดความเข้าใจ ไม่ควรใช้แบบทดสอบความจำ และไม่ควรใช้แบบทดสอบที่มีความซับซ้อนจนเกินไปเอ็ดการ์ เดล (Edgar Dale) ให้ผู้ใช้ประเมินผลการใช้สื่อการสอนจากคำถามที่ว่า สื่อการสอนเหล่านั้นมีคุณลักษณะดังต่อไปนี้หรือไม่ เพียงไร
1. ให้ภาพพจน์ที่แท้จริงในการสอน
2. ให้เนื้อหาวิชาตรงตามจุดมุ่งหมาย
3. เหมาะสมกับวัย สติปัญญา และประสบการณ์ของผู้เรียน
4. สภาพรูปร่าง และลักษณะของโสตทัศนวัสดุเหล่านั้นเป็นที่พอใจ
5. มีผู้ให้คำแนะนำแก่ครูในการใช้โสตทัศนวัสดุเหล่านั้นให้ได้ประโยชน์
6. ช่วยในการสร้างมนุษยสัมพันธ์
7. ช่วยให้นักเรียนใช้ความคิดพิจารณา
8. ให้ผลคุ้มค่ากับเวลา ค่าใช้จ่าย และความพยายามที่ได้ทำไปกล่าวโดยสรุป เทคนิคการใช้สื่อ คือ กระบวนการใช้เครื่องมือและวัสดุในการจัดการเกี่ยวกับการเรียนการสอนเช่น การเล่นเกม การจัดสถานการณ์จำลอง การสาธิต การทดสอบ เป็นต้น
ที่มา : http://www.la.ubu.ac.th/Thai/Research/Data/Detail/COMPARE/unit2_2.html2_2.html

2 ความคิดเห็น:

Scott McLean กล่าวว่า...

Hello, It's nice to see someone from Thailand. I just posted about Thailand on my blog about fast food. Hope I can go back to Bangkok again soon. How are you? Nice to know you. you can add my email too if you like. take care.

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

Hello. This post is likeable, and your blog is very interesting, congratulations :-). I will add in my blogroll =). If possible gives a last there on my blog, it is about the Vinho, I hope you enjoy. The address is http://vinho-brasil.blogspot.com. A hug.