วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2550

การสร้างสื่อการเรียนการสอน

  • 1. สื่อการสอน

........สื่อการสอน หมายถึง วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ ซึ่งถูกนำมาใช้ในการการเรียนการสอน เพื่อเป็นตัวกลางในการนำส่งหรือถ่ายทอดความรู้ ทักษะ และเจตคติ จากผู้สอนหรือแหล่งความรู้ไปยังผู้เรียน ช่วยให้การเรียนการสอนดำเนินไปอย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพ และทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนที่ตั้งไว้ที่มา : http://edtech.edu.ku.ac.th/edtech/wbi/index.php

"ความสำคัญของสื่อการสอน" ดังนี้
1. สื่อการสอน ช่วยสร้างรากฐานที่เป็นรูปธรรมขึ้นในความคิดของผู้เรียน การฟังเพียงอย่างเดียวนั้น ผู้เรียนจะต้องใช้จินตนาการเข้าช่วยด้วย เพื่อให้สิ่งที่เป็นนามธรรมเกิดเป็นรูปธรรมขึ้นในความคิด แต่สำหรับสิ่งที่ยุ่งยากซับซ้อน ผู้เรียนย่อมไม่มีความสามารถจะทำได้ การใช้อุปกรณ์เข้าช่วยจะทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจและสร้างรูปธรรมขึ้นในใจได้
2. สื่อการสอน ช่วยเร้าความสนใจของผู้เรียน เพราะผู้เรียนสามารถใช้ประสาทสัมผัสได้ด้วยตา หู และการเคลื่อนไหวจับต้องได้แทนการฟังหรือดูเพียงอย่างเดียว
3. เป็นรากฐานในการพัฒนาการเรียนรู้และช่วยความทรงจำอย่างถาวร ผู้เรียนจะสามารถนำประสบการณ์เดิมไปสัมพันธ์กับประสบการณ์ใหม่ ๆ ได้ เมื่อมีพื้นฐานประสบการณ์เดิมที่ดีอยู่แล้ว
4. ช่วยให้ผู้เรียนได้มีพัฒนาการทางความคิด ซึ่งต่อเนื่องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทำให้เห็นความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ เช่น เวลา สถานที่ วัฏจักรของสิ่งมีชีวิต
5. ช่วยเพิ่มทักษะในการอ่านและเสริมสร้างความเข้าใจในความหมายของคำใหม่ ๆ ให้มากขึ้น ผู้เรียนที่อ่านหนังสือช้าก็จะสามารถอ่านได้ทันพวกที่อ่านเร็วได้ เพราะได้ยินเสียงและได้เห็นภาพประกอบกัน
เปรื่อง กุมุท ให้ความสำคัญของสื่อการสอน ดังนี้
1. ช่วยให้คุณภาพการเรียนรู้ดีขึ้น เพราะมีความจริงจังและมีความหมายชัดเจนต่อผู้เรียน
2. ช่วยให้นักเรียนรู้ได้ในปริมาณมากขึ้นในเวลาที่กำหนดไว้จำนวนหนึ่ง
3. ช่วยให้ผู้เรียนสนใจและมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในกระบวนการเรียนการสอน
4. ช่วยให้ผู้เรียนจำ ประทับความรู้สึก และทำอะไรเป็นเร็วขึ้นและดีขึ้น
5. ช่วยส่งเสริมการคิดและการแก้ปัญหาในขบวนการเรียนรู้ของนักเรียน
6. ช่วยให้สามารถเรียนรู้ในสิ่งที่เรียนได้ลำบากโดยการช่วยแก้ปัญหา หรือข้อจำกัดต่าง ๆ ได้ดังนี้
.....· ทำสิ่งที่ซับซ้อนให้ง่ายขึ้น
.....· ทำนามธรรมให้มีรูปธรรมขึ้น
.....· ทำสิ่งที่เคลื่อนไหวเร็วให้ดูช้าลง
.....· ทำสิ่งที่ใหญ่มากให้ย่อยขนาดลง
.....· ทำสิ่งที่เล็กมากให้ขยายขนาดขึ้น
.....· นำอดีตมาศึกษาได้
.....· นำสิ่งที่อยู่ไกลหรือลี้ลับมาศึกษาได้
7. ช่วยให้นักเรียนเรียนสำเร็จง่ายขึ้นและสอบได้มากขึ้น

"ประเภทของสื่อการสอน"
โรเบิร์ต อี. ดี. ดีฟเฟอร์ แบ่งประเภทของสื่อการสอน ดังนี้
1. วัสดุที่ไม่ต้องฉาย ได้แก่ รูปภาพ แผนภูมิ กราฟ ของจริง ของตัวอย่าง หุ่นจำลอง แผนที่ กระดาษสาธิตลูกโลก กระดานชอล์ค กระดานนิเทศ กระดานแม่เหล็ก การแสดงบทบาท นิทรรศการ การสาธิต และการทดลองเป็นต้น
2. วัสดุฉายและเครื่องฉาย ได้แก่ สไลด์ ฟิล์มสตริป ภาพโปร่งใส ภาพทึบ ภาพยนตร์ และเครื่องฉายต่าง ๆ เช่น เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องฉายสไลด์ และฟิล์มสตริป เครื่องฉายกระจกภาพ เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ เครื่องฉายภาพทึบแสง เครื่องฉายภาพจุลทัศน์ เป็นต้น
3. โสตวัสดุและเครื่องมือ ได้แก่ แผ่นเสียง เครื่องเล่นจานเสียง เทป เครื่องบันทึกเสียง เครื่องขยายเสียง และวิทยุ เป็นต้นศาสตราจารย์สำเภา วรางกูร ได้แบ่งประเภทและชนิดของสื่อการสอน ดังนี้
..........ก. ประเภทวัสดุโสตทัศน์ (Audio-Visual Materials
1. ประเภทภาพประกอบการสอน(Picture Instructional Materials)
..ภาพที่ไม่ต้องฉาย (Unprojected Pictures)
..ภาพเขียน (Drawing)
..ภาพแขวนผนัง (Wall Pictures)
..ภาพตัด (Cut-out Pictures)
..สมุดภาพ (Pictorial Books, Scrapt Books)
..ภาพถ่าย (Photographs)
..ภาพที่ต้องฉาย (Project Pictures)
..สไลด์ (Slides)
..ฟิล์มสตริป (Filmstrips)
..ภาพทึบ (Opaque Projected Pictures)
..ภาพโปร่งแสง (Transparencies)
..ภาพยนตร์ 16 มม., 8 มม., (Motion Pictures)
..ภาพยนตร์ (Video Tape)
2. ประเภทวัสดุอุปกรณ์ลายเส้น (Graphic Instructional Materials)
..แผนภูมิ (Charts)
..กราฟ (Graphs)
..แผนภาพ (Diagrams)
..โปสเตอร์ (Posters)
..การ์ตูน (Cartoons, Comic strips)
..รูปสเก็ช (Sketches)
..แผนที่ (Maps)
..ลูกโลก (Globe)
3. ประเภทกระดานและแผ่นป้ายแสดง (Instructional Boards and Displays)
..กระดานดำหรือกระดานชอล์ก (Blackboard,Chalk Board)
..กระดานผ้าสำลี (Flannel Boards)
..กระดานนิเทศ (Bulletin Boards)
..กระดานแม่เหล็ก (Magnetic Boards)
..กระดานไฟฟ้า (Electric Boards)
4. ประเภทวัสดุสามมิติ (Three-Dimensional Materials) มี
..หุ่นจำลอง (Models)
..ของตัวอย่าง (Specimens)
..ของจริง (Objects)
..ของล้อแบบ (Mock-Ups)
..นิทรรศการ (Exhibits)
..ไดออรามา (Diorama)
..กระบะทราย (Sand Tables)
5. ประเภทโสตวัสดุ (Auditory Instructional Materials)
..แผ่นเสียง (Disc Recorded Materials)
..เทปบันทึกเสียง (Tape Recorded Materials)
..รายการวิทยุ (Radio Program)
6. ประเภทกิจกรรมและการละเล่น (Instructional Activities and Plays)
..การทัศนาจรศึกษา (Field Trip)
..การสาธิต (Demonstrations)
..การทดลอง (Experiments)
..การแสดงแบบละคร (Drama)
..การแสดงบทบาท (Role Playing)
..การแสดงหุ่น (Pupetry)
...........ข. ประเภทเครื่องมือโสตทัศนูปกรณ์ (Audio-Visual Equipments)
..เครื่องฉายภาพยนตร์ 16 มม. , 8 มม.
..เครื่องฉายสไลด์และฟิล์มสตริป (Slide and Filmstrip Projector)
..เครื่องฉายภาพทึบแสง (Opaque Projectors)
..เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ (Overhead Projector)
..เครื่องฉายกระจกภาพ (3 1/4 "x 4" หรือ Lantern Slide Projector)
..เครื่องฉายภาพจุลทัศน์ (Micro-Projector)
..เครื่องเล่นจานเสียง (Record Plays)
..เครื่องเทปบันทึกภาพ (Video Recorder)
..เครื่องรับโทรทัศน์ (Television Receiver)
..จอฉายภาพ (Screen)
..เครื่องรับวิทยุ(Radio Receive)
..เครื่องขยายเสียง(Amplifier)
..อุปกรณ์เทคโนโลยีแบบใหม่ต่างๆ (Modern Instructional Technology Devices) เช่น
..โทรทัศนศึกษา
..ห้องปฏิบัติการภาษา โปรแกรมเรียน (Programmed Learning) และอื่นๆ

"การใช้สื่อการสอน"
1. ใช้สื่อการสอนในขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ทั้งนี้เพื่อเร้าผู้เรียนให้เกิดความสนใจ และเปลี่ยนพฤติกรรมในเบื้องต้น โดยปรับตนเองให้พร้อมที่จะเรียนรู้บทเรียนใหม่ ซึ่งอาจกระทำได้โดยการรื้อฟื้นความรู้เดิม (assimilation) หรือขยายความรู้เดิม (accommodation) เพื่อนำมาใช้ให้ประสานกันกับความรู้ใหม่ ซึ่งจะเรียนในขั้นต่อไป
2. ใช้สื่อการสอนในขั้นประกอบการสอนหรือขั้นดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อช่วยให้ความกระจ่างในเนื้อหาที่เรียนหรือทำให้ผู้เรียน เรียนรู้ได้ง่ายขึ้นและเข้าใจข้อเท็จจริงในเนื้อหาอย่างแท้จริงในรูปของการเกิด Concept เข้าใจหลักการสำคัญ และมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในแนวทางที่ดีขึ้นตามจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ได้กำหนดไว้
3. ใช้สื่อการสอนเพื่อขยายขอบเขตความรู้ของผู้เรียนให้ก้าวหน้าและเจริญงอกงามทั้งในด้านความกว้างและความลึกของภูมิปัญญา ซึ่งเป็นผลของการเรียนอย่างแท้จริง
4. ใช้สื่อการสอนเพื่อย่อสรุปเนื้อหาสำคัญของบทเรียนเกิดเป็น Concept ในเนื้อหาแต่ละเรื่องใช้สื่อการสอนเพื่อส่งเสริมผู้เรียนให้มีการฝึกและพัฒนาตนเองให้รู้จักขั้นตอนและมีความคิดสร้างสรรค์ (Control and Creativity)

"การติดตามและประเมินผลการใช้สื่อการสอน "
โนเอล และ ริโอนาร์ด ได้ให้หลักเกณฑ์ในการติดตามและประเมินผลการใช้สื่อดังนี้
>>>1. ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันจัดกิจกรรมเพื่อติดตามผล ดังนี้
1. ร่วมกันอภิปรายเนื้อหาที่สำคัญ ในระหว่างการใช้โสตทัศนูปกรณ์
2. ร่วมกันทำความเข้าใจเนื้อหาที่ยังไม่เข้าใจ
3. ครูอธิบายความคิดรวบยอดให้เด็กเข้าใจได้ชัดเจน
4. ร่วมกันจัดกิจกรรมต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์การเรียนรู้
5. ร่วมกันวางแผนในการนำผลการเรียนรู้ไปใช้ในการแก้ปัญหาอื่น ๆ หรือการเรียนในเรื่องอื่น ๆ ต่อไป
>>>2. ผู้สอนสำรวจดูว่าการใช้สื่อการสอนได้บรรลุตามจุดมุ่งหมายหรือไม่ อาจทำได้ดังนี้
1. ผู้สอนวิจารณ์ผลการเรียนโดยใช้สื่อการสอน
2. ผู้สอนอาจใช้แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ของผู้เรียน แต่การทดสอบนั้นต้องเป็นไปตามจุดมุ่งหมาย เช่น ถ้าต้องการทราบความเข้าใจก็ต้องออกแบบทดสอบวัดความเข้าใจ ไม่ควรใช้แบบทดสอบความจำ และไม่ควรใช้แบบทดสอบที่มีความซับซ้อนจนเกินไปเอ็ดการ์ เดล (Edgar Dale) ให้ผู้ใช้ประเมินผลการใช้สื่อการสอนจากคำถามที่ว่า สื่อการสอนเหล่านั้นมีคุณลักษณะดังต่อไปนี้หรือไม่ เพียงไร
1. ให้ภาพพจน์ที่แท้จริงในการสอน
2. ให้เนื้อหาวิชาตรงตามจุดมุ่งหมาย
3. เหมาะสมกับวัย สติปัญญา และประสบการณ์ของผู้เรียน
4. สภาพรูปร่าง และลักษณะของโสตทัศนวัสดุเหล่านั้นเป็นที่พอใจ
5. มีผู้ให้คำแนะนำแก่ครูในการใช้โสตทัศนวัสดุเหล่านั้นให้ได้ประโยชน์
6. ช่วยในการสร้างมนุษยสัมพันธ์
7. ช่วยให้นักเรียนใช้ความคิดพิจารณา
8. ให้ผลคุ้มค่ากับเวลา ค่าใช้จ่าย และความพยายามที่ได้ทำไปกล่าวโดยสรุป เทคนิคการใช้สื่อ คือ กระบวนการใช้เครื่องมือและวัสดุในการจัดการเกี่ยวกับการเรียนการสอนเช่น การเล่นเกม การจัดสถานการณ์จำลอง การสาธิต การทดสอบ เป็นต้น
ที่มา : http://www.la.ubu.ac.th/Thai/Research/Data/Detail/COMPARE/unit2_2.html2_2.html

วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2550

การออกแบบสื่อวัสดุกราฟิก


  • 2. การออกแบบสื่อ

......การออกแบบสื่อการสอน คือ การวางแผนสร้างสรรค์สื่อการสอนหรือการปรับปรุงสื่อการสอนให้มีประสิทธิภาพและมีสภาพที่ดี โดยอาศัยหลักการทางศิลปะ รู้จักเลือกสื่อและวิธีการทำ เพื่อให้สื่อนั้นมีความสวยงาม มีประโยชน์และมีความเหมาะสมกับสภาพการเรียนการสอน

"ลักษณะการออกแบบที่ดี" (Characteristics of Good Design)
1. ควรเป็นการออกแบบที่เหมาะสมกับความมุ่งหมายของการนำไปใช้
2. ควรเป็นการออกแบบที่มีลักษณะง่ายต่อการมำความเข้าใจ การนำไปใช้งานและกระบวนการผลิต
3. ควรมีสัดส่วนที่ดีและเหมาะสมตามสภาพการใช้งานของสื่อ
4. ควรมีความกลมกลืนของส่วนประกอบ ตลอดจนสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของการใช้และการผลิตสื่อชนิดนั้น

"องค์ประกอบของการออกแบบ "
1. จุด ( Dots )
2. เส้น ( Line )
3. รูปร่าง รูปทรง ( Shape- Form )
4. ปริมาตร ( Volume )
5. ลักษณะพื้นผิว ( Texture )
6.บริเวณว่าง ( Space )
7. สี ( Color )
8. น้ำหนักสื่อ ( Value )
ที่มา : http://sps.lpru.ac.th/script/show_article.pl

........ภาพตัวอย่างสื่อวัสดุกราฟิก
..................ภาพกราฟิก (Graphics) เป็นสื่อในการนำเสนอที่ดี เนื่องจากมีสีสรร มีรูปแบบที่น่าสนใจ สามารถสื่อความหมายได้กว้าง ประกอบด้วย

...........ภาพบิตแมพ (Bitmap) เป็นภาพที่มีการเก็บข้อมูลแบบพิกเซล หรือจุดเล็กๆ ที่แสดงค่าสี ดังนั้นภาพหนึ่งๆ จึงเกิดจากจุดเล็กๆ หลายๆ จุดประกอบกัน (คล้ายๆ กับการปักผ้าครอสติก) ทำให้รูปภาพแต่ละรูป เก็บข้อมูลจำนวนมาก เมื่อจะนำมาใช้ จึงมีเทคนิคการบีบอัดข้อมูล ฟอร์แมตของภาพบิตแมพ ที่รู้จักกันดี ได้แก่ .BMP, .PCX, .GIF, .JPG, .TIF




.........ภาพเวกเตอร์ (Vector) เป็นภาพที่สร้างด้วยส่วนประกอบของเส้นลักษณะต่างๆ และคุณสมบัติเกี่ยวกับสีของเส้นนั้นๆ ซึ่งสร้างจากการคำนวณทางคณิตศาสตร์ เช่น ภาพของคน ก็จะถูกสร้างด้วยจุดของเส้นหลายๆ จุด เป็นลักษณะของโครงร่าง (Outline) และสีของคนก็เกิดจากสีของเส้นโครงร่างนั้นๆ กับพื้นที่ผิวภายในนั่นเอง เมื่อมีการแก้ไขภาพ ก็จะเป็นการแก้ไขคุณสมบัติของเส้น ทำให้ภาพไม่สูญเสียความละเอียด เมื่อมีการขยายภาพนั่นเอง ภาพแบบ Vector ที่หลายๆ ท่านคุ้นเคยก็คือ ภาพ .wmf ซึ่งเป็น clipart ของ Microsoft Office นั่นเอง นอกจากนี้คุณจะสามารถพบภาพฟอร์แมตนี้ได้กับภาพในโปรแกรม Adobe Illustrator หรือ Macromedia Freehand

..........คลิปอาร์ต (Clipart) เป็นรูปแบบของการจัดเก็บภาพ จำนวนมากๆ ในลักษณะของตารางภาพ หรือห้องสมุดภาพ หรือคลังภาพ เพื่อให้เรียกใช้ สืบค้น ได้ง่าย สะดวก และรวดเร็ว

..........HyperPicture มักจะเป็นภาพชนิดพิเศษ ที่พบได้บนสื่อมัลติมีเดีย มีความสามารถเชื่อมโยงไปยังเนื้อหา หรือรายละเอียดอื่นๆ มีการกระทำ เช่น คลิก (Click) หรือเอาเมาส์มาวางไว้เหนือตำแหน่งที่ระบุ (Over)

สำหรับการจัดหาภาพ หรือเตรียมภาพ ก็มีหลายวิธี เช่น การสร้างภาพเอง ด้วยโปรแกรมสร้างภาพ เช่น Adobe Photoshop, PhotoImpact, CorelDraw หรือการนำภาพจากอุปกรณ์ เช่น กล้องถ่ายภาพดิจิตอล, กล้องวิดีโอดิจิตอล หรือสแกนเนอร์ที่มาwww.nectec.or.th/courseware/multimedia/0005.html

...................................................................................................................................


.................................................................................................................................


..................................................................................................................................

...................................................................................................................................

การเรียนโปรแกรม Photoshop

  • 3. การเรียนโปรแกรม Photoshop

.......Photoshop เป็นโปรแกรมในตระกูล Adobe เป็นโปรแกรมที่ใช้ตกแต่งภาพ
หัวใจของ Photoshop คือการทำงานเป็น Layer
Layer คือ ชั้นของรูปภาพ วัตถุ จะไม่เกี่ยวข้องกัน

การตั้งค่าหน้ากระดาษ มีวิธีการดังนี้
.....ไปที่ เมนู File > New จะกำหนดค่าต่างๆคือ
Width : กำหนดความกว้าง
Height :กำหนดความสูง
(ควรเปลี่ยนหน่วยวัดด้านหลังก่อนกำหนดตัวเลข เช่น inches, pixels, cm ,mm )
Resolotion : กำหนดเป็น 300
Mode : กำหนดโหมดสี ควรกำหนดเป็น RGB ก่อน เป็นสีของแสง สีที่ใช้ในโรงพิมพ์ Picment คือ เม็ดสี ฝุ่นสี ก็คือโหมด CMYK
.....C = Cyan สีฟ้า
.....M= Mageta สีม่วงแดง
.....Y=Yellow สีเหลือง
.....K=Black สีดำ
Content กำหนด Background
White พื้นจะเป็นสีขาว
Transparent พื้นจะเป็นสีใส หรือ โปร่งแสง

การเปิดภาพที่เราต้องการ มีวิธีการดังนี้
.....ไปที่เมนู File > Open เลือก ไฟล์ต่างๆที่ต้องการภาพ หากต้องการมองภาพให้ทำให้เป็น thumbnails
แล้วดับเบิลคลิกที่ภาพจะได้ภาพที่ต้องการ

การตัดภาพ
.....การตัดภาพในโปรแกรม Photoshop สามารถใช้เครื่องมือได้หลายชนิด เช่น
ไปที่ Elliptical Marquee tool แล้วลากที่ภาพ จะขึ้นเป็นเส้นselection ถ้าต้องการยกเลิกมี 3 วิธี
1. คลิกที่ภาพ
2. Ctrl + D
3. ไปที่เมนู Select > Deselect
เมื่อลากที่ภาพแล้วใช้ Arrow Key เลื่อน

การทำภาพเพิ่ม
1. ไปที่ Edit > Copy แล้วไปที่ Edit > Paste เส้น Select จะหายไป ได้ Layerที่ 2
2. Ctrl+T หรือ ไปที่เมนู Edit >Free Tranfrom
3. กด Shift ย่อภาพที่มุม
4. Ctrl +T
5. ลากกลับภาพ แล้ว enter Ctrl +T จะหาย

ขั้นตอนการตกแต่งภาพ
1. Double คลิก Layer2 จะเป็น Layer Style เลือก Bevel and Emboss การทำให้นูน
2. ตั้งค่า ต่างๆ smooth, depth, size, soften ให้ภาพดูสวย
3. Double คลิก Layer 2 เลือก Drop Shadow ใส่เงา ตั้งค่าตามต้องการ
4. ไปที่ Opacity เป็นการปรับภาพให้จางลง

การแก้ไขงาน ทำได้ 2 วิธี คือ
1. Ctrl + Z เป็นการกลับไปยังคำสั่งสุดท้าย
2. ไปที่ History เลือกกลับไปยังครั้งที่ต้องการแก้ไข

การตัดพื้น
.....การใช้ Polygonal Lasso Tool คลิกที่ภาพแล้วปล่อยจึงคลิกที่ภาพต่อไปเรื่อยๆ ถ้าต้องการตัดพื้นหลังออกให้คลิกในพื้นหลังจนกลับถึงจุดแรกให้เป็นเส้น select แล้วลบ พื้นหลังจะถูกลบออก ทำเช่นนี้ต่อไปจนได้ภาพที่ต้องการ แล้วจึงใช้ยางลบ ลบพื้นหลังที่ที่ยังเหลือให้มีเพียงภาพ แล้วจึงค่อยตกแต่ง

การบันทึกงาน สามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้
.......1.การ Save งานในนามสกุล PSD เพื่อสามารถไว้แก้ไข แต่จะเปลืองพื้นที่ มีวิธีการดังนี้
1. เลือกเมนู File > Save as
2. กำหนด Folder ที่จะเก็บงาน ชื่อและประเภทของไฟล์ ที่จะ save
3. กำหนดค่าต่างๆ และที่ช่อง save กำหนดเป็น สกุลของ Photoshop คือ .psd
.......2. การ Save งานในนามสกุล JPEG เป็นการ save ที่ไม่สามารถแก้ไขงานได้ เป็นงานที่สมบูรณ์แล้ว แต่เป็นการsave ที่ไม่เปลืองพื้นที่
.......3. การ Save งานในนามสกุล GIF เป็นการ save ที่ไม่สามรถแก้ไขงานได้ เป็นงานที่สมบูรณ์แล้ว แต่จะ เป็นการ save ที่จะไม่ติดพื้นหลังมาด้วยเมื่อมีการตัดภาพ (พื้นโปร่ง)

การใช้ Filter
......เมื่อได้ภาพที่ตัดสมบูรณ์แล้ว สามารถใช้ Filter ในการปรับแต่งภาพโดยวิธีดังนี้ เช่น
ไปที่ เมนู Filter > Stylize > Emboss สามารถปรับค่าต่างๆ ให้ภาพดูสวย พอใจแล้ว OK
สามารถปรับแต่งภาพโดยใช้ Filter ได้หลายวิธีตามความต้องการ เช่น Sketch ,Artistic และอื่นๆโดยการ save ภาพต้นฉบับไว้ 1 ภาพ เพื่อสำหรับปรับแต่งภาพไว้หลายๆแบบ ไว้เลือกหรือเปรียบเทียบ

ตัวอย่างภาพที่ใช้ filter


Filter : stylize emboss...



Filter : sketch photocopy...


วันอังคารที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2550

สื่อวัสดุกราฟิก “สีไม้”


  • 5. เรื่อง SPORTS


>>>ใช้สอนเรื่อง คำศัพท์เกี่ยวกับกีฬาต่างๆได้แก่ volleyball, fishing, cycling, swimming, jogging,
table-tennis , boxing, hose racing, football, tennis, judo, sailing, and wrestling
>>>สอนในระดับช่วงชั้นที่ 3 มัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3

>>>มีวิธีใช้ คือ ในรูปประโยคดังนี้
........ A: Do you like …………….?
.........B: Yes, I do. / No, I don’t.

.........A: What is your favorite sport?
.........B: My favorite sport is ...............


.........A: What do you think is the most exciting sport? Why?
.........B: I think ……………… is the most exciting sport because……………………………


.........A: What is he/she doing? / What are they doing?
.........B: He / She is ……………… / They are ……………….

วันพฤหัสบดีที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2550

เรียนวิธีทำBlog

วันนี้วันที่ 8 สิงหาคม 2550 เรียนวิธีทำ Blog เพื่อมีพื้นที่ในการนำเสนองานของตนเอง โดยสมัครได้ที่www.Blogger.com/home และได้เรียนวิธีการปรับแต่งหน้าBlog การปรับแต่งตัวอักษรหัวเรื่องให้น่าสนใจ โดยการทำให้ขนาดใหญ่ขึ้นเป็นการเน้นเพื่อดึงดูดความสนใจ เช่น ภาษาอังกฤษควรทำให้เป็นตัวพิมพ์ใหญ่ การปรับเปลี่ยนสีพื้นหน้า Blog สีตัวอักษร รวมถึงเรียนการนำรูปมาใส่ไว้หน้าBlog

วันพุธที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2550

ความรู้ที่ได้รับจากการเรียน


ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการทำสื่อการเรียนการสอน การลงสีไม้ เทคนิคการใช้สีไม้ การเรียนเกี่ยวกับ Power Point & Photoshop การตัดแต่งรูปภาพ การใช้เครื่องมือในPhotoshop ที่จำเป็นในการใช้ตกแต่งรูปภาพ